Saturday, January 8, 2011

Fw: รายงานการอาพาธหลวงตามหาบัว วันที่3มกราคม



---------- จดหมายที่ถูกส่งต่อ ----------
จาก: sukunya komson <oui_komson@yahoo.com>
วันที่: 7 มกราคม 2554, 22:59
หัวเรื่อง: Fw: รายงานการอาพาธหลวงตามหาบัว วันที่3มกราคม
ถึง: superman_monk@hotmail.com, Ban Santhidham <bansantidham@hotmail.com>, athichax@yahoo.com, phobkrit1981@gmail.com, penkae_light@hotmail.com, ethiamth@visteon.com, suchada.da_ksg@yahoo.com, sothaphat2009@windowslive.com




----- Forwarded Message ----
From: TeerayutSPG <teerayutspg@gmail.com>
To: TeerayutSPG <teerayutspg@gmail.com>
Sent: Friday, January 7, 2011 19:32:44
Subject: FW: รายงานการอาพาธหลวงตามหาบัว วันที่3มกราคม

 

From: Chawan Warunthepraksa [mailto:warunthc@hotmail.com]
Sent: Friday, January 07, 2011 4:09 PM
To: Undisclosed-Recipient:;
Subject: รายงานการอาพาธหลวงตามหาบัว วันที่3มกราคม

 

วันที่1มกราคม 2554

01.00น.หลวงตาบอกให้ลูกศิษย์นำท่านกลับวัดป่าบ้านตาด

ท่านได้มองและจับมือท่านพระอจ.สุดใจและปรารภว่า

มือของครูอาจารย์กับมือของลูกศิษย์ลูกหา เพื่อนฝูง

จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ใช้แทนกันได้ ไว้ใจกันได้.

วันที่ 2 มกราคม 2554

02.00น. ท่านตื่นขึ้นและบอกกับลูกศิษย์ให้เตรียมตัวกลับวัดป่าบ้านตาด

09.00น.ท่านคณะบดีมาขอให้ท่านอยู่ต่ออีกหนึ่งสัปดาห์

13.00น.ท่านบอกว่าจะกลับวัดอีกครั้ง

16.00น.ทูลกระหม่อมจุฬาภรณ์เสด็จมาขอให้ท่านอยู่รับการรักษาต่ออีก6วันและบอกกับคณะแพทย์ยังไม่ให้ท่านกลับ ถ้าท่านจะกลับจะมายับยั้งไว้ด้วยพระองค์เองทุกครั้ง

19.30น.ท่านบอกว่าจะกลับวัด ลูกศิษย์จึงพาลงมาขึ้นรถที่หน้าตึก84ปี

            พยาบาลที่ตึกกันรถไว้ทั้งหน้าและหลัง อจ.นิพนธ์และคณะบดีมาขอให้ท่านกลับไปที่ห้องก่อนเพราะการเดินทางไม่ปลอดภัยไม่มีออกซิเจนและแพทย์จากศิริราชตามไปส่ง

19.45น. ทูลกระหม่อมจุฬาภรณ์เสด็จมาขอให้หลวงตากลับไปพักก่อนบอกองค์ท่านว่าจะให้กลับวัดป่าบ้านตาดในวันรุ่งขึ้น ท่านจึงยอมกลับขึ้นห้องพัก หลังกลับไปถึงห้องพักท่านก็หลับ ทูลกระหม่อมทรงเสด็จตามไปส่งท่านที่ห้องพักด้วย และให้ทุกคนกลับให้องค์รักษ์เฝ้าหลวงตาแทน คณะลูกศิษย์ที่ดูแลอยู่เดิม

วันที่ 3 มกราคม 2554

0700น.            ทูลกระหม่อมจุฬาภรณ์เสด็จมาเฝ้าหลวงตา

07.10น. สมเด็จพระนางเจ้าฯเสด็จมากราบถวายปัจจัยองค์หลวงตา ห้าแสนบาทและเสด็จกลับพร้อมทูลกระหม่อมจุฬาภรณ์ และได้จัดเครื่องบินพระที่นั่งของกองทัพอากาศให้ไปส่งหลวงตาที่อุดรฯ

08.00น.หลวงตาเตรียมตัวกลับวัดป่าบ้านตาด

09.00น.คณะหลวงตาฯออกจากรพ.ศิริราช

มีนพ.นิพนธ์ และอจ.นพ.สุชาย ตามมาส่งหลวงตาด้วยรถพยาบาลจากรพ.ศิริราช

10.00น.           คณะหลวงตาถึงสนามบินกองทัพอากาศดอนเมืองขึ้นเครื่องบินที่สมเด็จพระนางเจ้าฯจัดถวาย(ซี130) มีนักบินคือ นท.รักษ์ และนอ.นพ. ศุภชัยเป็นแพทย์ประจำเครื่องบินเป็นผู้ดูแลไปส่งองค์ท่านที่อุดรฯ

11.20น.           คณะหลวงตาเดินทางถึงสนามบินกองทัพอากาศจังหวัดอุดรฯระหว่างอยู่บนเครื่องท่านปกติดีตลอด  ปริมาณออกซิเจนในเลือด100%  ตลอดการเดินทาง  (ให้O2  -4 lpm) BPประมาณ 130/70 PR ประมาณ 90 หลวงตาย้ายไปขึ้นรถพยาบาลจากรพ.ศูนย์อุดรกลับวัดป่าบ้านตาด

12.20น.           เดินทางถึงวัดป่าบ้านตาด  เข้าพัก ณ กุฏิ ชั่วคราวข้างๆกุฏิหลวงปู่ลีบริเวณหน้าวัด เนื่องจากกำลังปรับแต่งกุฏิหลวงตาให้เหมาะสมกับการดูแลองค์ท่านเช่นการปรับให้เป็นที่ปลอดเชื้อโรค การปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับองค์ท่านเป็นต้น คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ5-7วัน

14.00น.           ประชุมคณะแพทย์มีผอ.รพ.ศูนย์อุดรและผอ.รพ.ศรีนครินทร์เป็นประธาน เพื่อหาแนวทางในการถวายการรักษาองค์ท่านต่อไป

สรุปการประชุมคณะแพทย์วันที่3มกราคม2554

จากผลการตรวจวินิจฉัยที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ถึงพยาธิสภาพหลักขององค์หลวงตาได้ดังนี้

1.       ก้อนเนื้องอกมะเร็งบริเวณตัวตับอ่อนและหางของตับอ่อนกระจายไป lt. adrenal gland,ligament of treitz, splenic vein รวมทั้งบริเวณข้างเคียงมีผลทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้และมีน้ำในช่องท้อง ลักษณะ peritoneumคล้าย cacinomatosis peritonii

2.       มีการติดเชื้อของปอดทั้งสองข้าง มีน้ำในช่องปอดทั้งสองข้างข้างซ้ายมากกว่าด้านขวาจากการติดเชื้อและการกระจายตัวของเซลมะเร็ง จากผลการเจาะน้ำออกมาตรวจพบเซลมะเร็ง adenocacinoma

3.          มีลักษณะอาการขาดสารอาหารเรื้อรัง จากผลเลือดที่มีค่าโปรตีนและค่าสารอาหารในเลือดต่ำ

4.           สูงอายุ และมีหัวใจเต้นผิดปกติ

5.         มีแผลติดเชื้อเรื้อรังที่นิ้วเท้า

การสรุปอาการดังกล่าว           น่าจะเกิดจากเนื้องอกมะเร็งที่บริเวณตับอ่อนระยะสุดท้ายที่มีการกระจายตัวของมะเร็งไปทั่วช่องท้องและปอด ทำให้ท่านมีอาการทางระบบทางเดินอาหารที่ผิดปกติ มีลำไส้อุดตันบางส่วน( partial gut obstruction) เกิดการขาดสารอาหารซึ่งอาจร่วมกับการที่ท่านฉันอาหารน้อยและอายุมากด้วย ปัจจุบันมีการอักเสบของปอดที่เกิดจากการกระจายตัวของเซลมะเร็งร่วมกับการติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ทั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่าการกระจายของโรคเป็นไปอย่าง รวดเร็ว   เมื่อเทียบจากผลของCT scan  ที่ทำห่างกันประมาณหนึ่งเดือน (26พย.-27ธค.)

ทั้งนี้จึงน่าจะมีการเตรียมการและปรึกษาหาแนวทางรักษาไว้ก่อนดังนี้

1.       การรักษาที่ให้ในปัจจุบันต่อเนื่อง

รักษาการติดเชื้อ ในปอด

การติดเชื้อราในปัสสาวะและแผลที่นิ้วเท้า

การฟื้นฟูสภาพการขาดสารอาหาร ให้ท่านแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคได้ดีขึ้น

 

2.       การวางแผนการรักษาอาการของโรคเนื้องอกมะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้าย

(คณะแพทย์ตกลงว่าจะไม่ทำเพราะอาจไปขัดต่อปฏิปทาขององค์ท่าน)

*การใส่เครื่องมือไปขยายลำไส้ส่วนที่ตันเพื่อช่วยให้อาหาร

และน้ำไหลผ่านไปได้ชั่วคราวและทำให้ท่านสบายองค์ขึ้น

*การทำช่องทางให้สารอาหาร เกลือแร่และสารน้ำรวมทั้งช่วย

ลดการอุดตันของลำไส้เช่น       G-J tube

3.       การปรึกษาแนวทางการการดูแลองค์ท่านในระยะสุดท้าย

*การมีช่องทางให้สารอาหาร น้ำและเกลือแร่ถาวรอย่างน้อย 3-6 เดือน (CVC-port) ในกรณีที่สายPICC เดิมที่มีอยู่ใช้งานต่อไปไม่ได้และทดลองเปลี่ยนสายแล้วก็ยังใช้งานไม่ได้ จะพิจารณาใส่port ที่บริเวณต้นแขนแทนไหปลาร้า

*การปรึกษาเพื่อจะให้ยาต้านมะเร็ง( ให้ตัวไหน อย่างไร จะใช้ยาแผนไหน

ไทย จีน ปัจจุบัน และจะมีวิธีการพิจารณาเลือกอย่างไร)

               4.     การดูแลเรื่องทั่วๆไป

                                    อาหารและน้ำที่จะถวายขอเป็นเฉพาะของเหลวจำนวนครั้งละ

                        ไม่มากนักประมาณ 50-60cc.

                                    สารอาหาร ให้ตามที่คณะแพทย์ศิริราชแนะนำ โดยให้ผ่านทางสายPICC

                   ในกรณีที่แร่ธาตุต่างๆไม่สมดุลให้ปรับแต่งตามความเหมาะสม

                                   

 

ในการรักษาที่ผ่านมาได้มีการรักษาทั้งแผนปัจจุบันแผนจีนแผนไทยฯลฯ มากมายแต่ขาดการประสานและปรึกษากันอย่างจริงจัง ด้วยความเชื่อและความเห็นของตนเองในแต่ละฝ่าย ที่ผ่านมาทางคณะแพทย์ฯจึงได้เสนอให้มีการประชุมร่วมกันทุกฝ่ายใช้เหตุผลหาวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อจะได้ถวายการรักษาที่ดีที่สุดให้องค์หลวงตาที่เราทุกคนต่างเคารพรักและศรัทธาท่าน จนมีมติสงฆ์ใหญ่ออกมาให้ปฏิบัติตามนั้น แต่ก็ยังไม่เกิดการกระทำอย่างเป็นรูปธรรม  จนทำให้องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ได้เมตตามารับการตรวจวินิจฉัยที่รพ.ศิริราช และได้ข้อสรุปถึงพยาธิสภาพที่ท่านเป็นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น(มะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้าย เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมากในการวางแผนการรักษาถวายองค์ท่าน เพราะที่ผ่านมาหลังการทำCT Scan ครั้งแรก แม้ว่าคณะแพทย์จะได้สงสัยอยู่แล้วกว่า70%ที่องค์ท่านอาจเป็นโรคมะเร็งแต่ก็ไม่กล้าตัดสินใจ จึงได้แต่ให้การรักษาตามอาการที่ปรากฏตามมาตรฐานการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบันโดยวางแผนการรักษาร่วมกันทั้งคณะแพทย์ ส่วนการถวายการรักษาด้วยการแพทย์แผนอื่นๆยิ่งลำบากมากกว่า เนื่องจากการไม่ทราบพยาธิสภาพแท้จริง การรักษาที่ได้จึงเกิดจากการคาดคิดเอาเองโดยดูจากอาการเป็นหลัก เช่นการให้ยากระตุ้นการย่อย ซึ่งจะมีส่วนไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนมากขึ้นอีกแทนที่ตับอ่อนจะได้พักแต่กลับทำงานมากขึ้น  หรือกรณีที่เอายาแผนจีนเช่นยาเซียนตันผสมไวตามินซีและยาหวังฉีใส่ทางสายน้ำเกลือถวายท่าน (ยาทั้งสามตัวนี้ เมื่อได้สอบถามแพทย์ผู้รู้เรื่องยาจีนเหล่านี้ทราบว่า ยาทั้งสามตัวนี้ไม่ควรให้ร่วมกัน และนอกจากนั้นยาจีนในกลุ่มนี้ มียาปลอมในท้องตลาดขายอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ประชาชนทั่วไปไม่รู้เพราะเป็นชื่อเดียวกัน และผู้ขายก็บอกเพียงสรรพคุณของยาว่ามีประโยชน์เท่านั้น  )   จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในการให้การรักษาผู้ป่วยเป็นมะเร็งในระยะสุดท้าย การที่ได้ปรึกษากับแพทย์ทุกสาขาร่วมกันทั้งแพทย์แผนไทยแผนจีนและแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เป็นการประชุมกันของคณะแพทย์ เพื่อปรึกษาหาข้อสรุปการรักษาที่เหมาะสมที่สุดจากผู้เชี่ยวชาญจริงๆและผู้เกี่ยวข้องและร่วมกันตัดสินเลือกเอาสิ่งที่ดีที่สุด แต่ที่สรุปได้จากประสบการณ์นั้นก็คือ  มีผู้รู้ไม่จริงในศาสตร์เหล่านี้และยังคงให้การรักษาผู้ป่วยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือบางครั้งกลับแย่ลงกว่าเดิม จุดสำคัญก็คือ การวินิจฉัยพยาธิสภาพของโรคให้ชัดเจนถูกต้องก่อน ไม่คาดเดาเอาเอง หรือรับฟังมาจากผู้อื่นแล้วมาให้การรักษาเพราะจะอันตรายมาก  การรักษาโรคมะเร็งขององค์หลวงตาที่มีอายุสูงวัยแล้วเราต้องยอมรับกันว่าคงเป็นไปได้ลำบากมาก ดังนั้นการให้แนวทางการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันเช่นยาต้านมะเร็งนั้น ก็อาจเป็นอันตรายต่อท่านจากยาที่ให้เองได้ เพราะฉะนั้นภายหลังที่ท่านได้ฟื้นฟูสภาพร่างกาย ได้รับสารอาหารพอเพียงและปราศจากการติดเชื้อแล้ว เราจึงควรวางแผนถวายการรักษาเอาไว้แต่ต้นว่าจะรักษาท่านด้วยยาแผนปัจจุบันหรือยาจีน ยาไทย หรือให้รักษาร่วมกัน ทั้งนี้จึงขอเสนอให้ปรึกษาร่วมกันโดยมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญสามารถให้ความรู้ในเรื่องนั้นๆได้จริงทั้งแพทย์แผนปัจจุบันแผนไทยแผนจีนและแพทย์ทางเลือก  ก่อนที่จะตัดสินใจถวายการรักษา เพราะการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับโรคนี้สำหรับองค์ท่านอาจมิใช่การแพทย์แผนปัจจุบันหรือแผนใดแผนหนึ่งเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามคงมิใช่ผู้ใดผู้หนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ตัดสินใจ   นอกจากนี้โอกาสที่ท่านจะกลับไปใช้ชีวิตปกติคงเป็นไปได้ยากมาก การต้องได้รับสารอาหารทางเส้นเลือดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการทำที่ให้สารอาหารสารน้ำและเกลือแร่ทางเส้นเลือดซึ่งอาจรวมทั้งการทำที่ให้สารอาหารผ่านทางลำไส้โดยตรงเช่นG-J tube (การให้อาหารทางสายยางผ่านหน้าท้อง)  ด้วยก็ได้เพราะจะได้มีโอกาสเลือกให้การรักษาดูแลท่านได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น  แต่ทั้งหมดนี้ก็คงขึ้นกับคณะสงฆ์และองค์ท่านด้วยว่าจะพิจารณาเห็นควรอย่างไร 

 

 

 

 

 

 

            ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในการถวายการรักษามีดังต่อไปนี้

1.              ปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Symptoms)

การไอ ซึ่งอาจเกิดได้จากการติดเชื้อในทางเดินหายใจ  การผิดปกติของปอด เช่นการมีน้ำในปอดฯลฯ  คณะแพทย์จะถวายการรักษาตามอาการยกเว้นถ้ามีน้ำในช่องปอดมากจนทำให้องค์ท่านเหนื่อยหอบมากอาจพิจารณาดูดน้ำในปอดออก นอกจากนี้ในห้องที่เปิดเครื่องทำความร้อนมากๆจะทำให้อาการที่องค์ท่านหายใจเข้าไปร้อนและแห้งมากจะทำให้มีเสมหะเหนียวข้นไอออกได้ยากและง่ายต่อการติดเชื้ออีกด้วย คงต้องพิจารณาปรับแต่งห้องพักขององค์ท่านให้เหมาะสมต่อไป

1.1      ไอ ซึ่งอาจจะเกิดได้จาก irritation จากการที่มีน้ำในช่องปอด หรืออาจจะเกิดขึ้นได้จาก secretionแนวทางคือพยายามให้การดูแล clear เสมหะก่อนเป็นอันดับแรก แต่ถ้าเป็นอาการไอที่เกิดจาก irritationอาจให้ยาบรรเทาอาการไอกลุ่ม codeine ได้

1.2      หายใจหอบเหนื่อย (dyspnea) ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เหนื่อยคือการมีการสะสมของ pleural effusionซึ่งล่าสุดได้รับการดูดออกวันที่ 30 ธค 2553 สำหรับปัญหาเรื่อง pleural effusion นี้ทางคณะแพทย์มีความเห็นว่าให้การติดตามอาการของหลวงตาอย่างใกล้ชิด ถ้าเริ่มมีอาการเหนื่อยที่แสดงว่ามีปริมาณน้ำมากพอควร จึงทำ portable CXR และพิจารณาทำการใส่สาย catheter เพื่อทำการ drain น้ำออก เนื่องจากการทำ repeat tapping อาจก่อให้เกิดอันตรายได้

2.              อาการทางระบบทางเดินอาหาร (GI tract)

                มีปัญหาสำคัญดังต่อไปนี้

2.1      เรื่อง upper GI obstruction จะทำให้หลวงตาฉันอาหารไม่ได้ อาเจียนเป็นน้ำดีและปวดท้อง สำหรับเรื่องนี้คณะแพทย์มีความเห็นดังต่อไปนี้

2.1.1                                           ควรต้องงดอาหารที่เป็นของแข็งทางปาก ฉันได้เฉพาะของเหลวเช่นน้ำหรือน้ำธัญญาหารเท่านั้น และควรให้ในปริมาณไม่มากนัก ประมาณ 20-30 cc ต่อครั้ง

2.1.2                                             ในกรณีที่หลวงตามีอาการอาเจียน  ให้ระวังเรื่องการสำลัก เนื่องจากปัจจุบันท่านเอาสาย N-G Tube ออกแล้วเมื่อมีการคั่งค้างของของเหลวในกระเพาะและลำไส้เล็กเหนือบริเวณอุดตันมากขึ้น จะทำให้ท่านแน่นท้องอึดอัดและต้องพยายามอาเจียนออกมา ถ้าอาเจียนในปริมาณไม่มากนัก อาจจะยังไม่ต้องทำอะไร ยกเว้นถ้ามีปริมาณมากเป็นร้อย cc  ทำให้ท่านต้องอาเจียนมาก/บ่อย อาจพิจารณาขอให้ท่านใส่สายN-G Tube อีกครั้ง

2.1.3                                           สำหรับสารอาหารในปัจจุบันเป็นการให้ TPN (Total Parenteral Nutrition) โดยในปัจจุบันได้รับจากศิริราช ในปริมาณ 70 cc/hr  ซึ่งต่อวันจะได้ fluid เข้าไปในร่างกาย 1700 cc/dayคณะแพทย์วางแผนว่าจะให้ในปริมาณเท่านี้ไปก่อน และติดตามดูน้ำเข้าและออกเป็นระยะ และอาจมีการพิจารณาให้ human albumin เป็นระยะเพื่อ keep serum albumin ในช่วง 2.7 – 3 mg/dl

 

2.2      อาจจะมีปัญหาเรื่อง ascites     ปัญหานี้วางแผนให้การรักษาตามอาการ ถ้าหลวงตามีอาการแน่นท้องและมีน้ำในช่องท้องมาก แต่ไม่ได้เกิดจากของเหลวในกระเพาะแต่เกิดเนื่องจากรอยโรคในช่องท้องจากการกระจายของเซลมะเร็งซึ่งจะทำให้มีอาการแน่นท้อง ท้องโตและทำให้ท่านอึดอัดอาจทำให้ท่านหอบได้ จะพิจารณาอาจพิจารณาทำ ascites tapping ดูดน้ำในท้องออกเป็นครั้งคราวเพื่อให้ท่านสบายองค์ขึ้น

3.              ปัญหาเรื่องการติดเชื้อ

3.1      การมีไข้  ถ้าไม่มีไข้ขึ้นสูง จะทำการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อให้ดีก่อนให้ยาปฏิชีวนะ  เพราะไข้อาจเกิดจากโรคมะเร็งเองก็เป็นไปได้แต่อย่างไรก็ตามถ้าหลวงตามีไข้ขึ้นสูงและมีอาการของ septicemia ให้พิจารณาเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็น doripenem

3.2      ปัจจุบันได้รับยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งมีหลักฐานน่าสงสัยที่แผลที่เท้าและ urine culture ขึ้น candida แต่เรื่องในปอดไม่น่าใช่ source infection ยาตัวนี้ไม่มีปัญหากับทางไต ดังนั้นน่าจะให้ได้ต่อ

3.3      คณะแพทย์วางแผนว่าถ้ามีปัญหาเรื่อง fever ขึ้นในช่วงนี้ เนื่องจากมี central line อยู่ อาจจะต้องมีการtake hemoculture ผ่านสาย catheter เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อที่สายหรือไม่ แต่สายที่ใฃ้ดูดเลือดอุดตันตั้งแต่เช้าวันที่3มค.

4.              ปัญหาเรื่องสายที่จะให้สารอาหารและยาทางหลอดเลือด

สำหรับปัจจุบันทางคณะแพทย์ศิริราชได้ทำ central line ที่ข้อพับ(PICC) ซึ่งปัจจุบันการให้สารอาหารให้ได้ดี แต่สายที่ใช้สำหรับการดูดเลือดมี partial clot ไม่สามารถดูดเลือดได้ ปัญหานี้ได้ทำการปรึกษาอาจารย์ปณิธิแล้วคิดว่า การจะพยายามใส่ urokinase อาจก่อปัญหาได้มากกว่าเนื่องจากไม่รู้ปริมาตรที่ชัดเจน และน่าจะลองรอเวลาสัก 2-3 วันแล้วลองดูดดูอีกที สำหรับปัญหานี้ถ้าสายอันนี้ใช้ไม่ได้จริง อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนสายใหม่ผ่านทาง guided wire ช่วงนี้ให้ใช้อันนี้ไปก่อนและเตรียมการเปลี่ยนสายให้สารอาหารทางเลือด เมื่อมีการอุดตันจนไม่อาจให้สารอาหารได้

5. เรื่องแผลที่เท้า ปัจจุบันไม่น่าเป็นปัญหา วางแผนทำแผลวันละครั้ง

6. เรื่อง pain control ในอนาคต เรื่องความเจ็บปวด ปกติผู้ป่วยด้วยโรคนี้ระยะท้ายๆจะมีความเจ็บปวดสูง จึงให้คณะแพทย์เตรียมแผนในการถวายยารักษาอาการเจ็บปวดของท่าน ด้วยยากลุ่ม Fentanyl patch 25 microgram แต่จะใช้วิธีตัดแบ่งครึ่ง เนื่องจากปัจจุบันเป็นลักษณะ film coat ทั้งหมดไม่ใช่แบบ pocket ดังนั้นสามารถตัดได้ และปริมาณยา 25 microgram = 80 mg of morphine ดังนั้นถ้าใช้ปริมาณครึ่งแผ่นปริมาณยาจะได้ประมาณ 40 mg of morphine

7. ปัญหาสำคัญที่อาจจะเกิดขึ้นฉุกเฉินฉับพลันทันใดได้ คือ ภาวะเหนื่อยหอบเฉียบพลัน แน่นหน้าอก ซึ่งอาจจะเกิดจาก pulmonary emboli ปัญหานี้คณะแพทย์ได้พิจารณากันอย่างรอบคอบและมีแนวคิดว่าควรให้รักษาแบบประคับประคอง ในกรณีที่ท่านเกิดอาการ ช็อก หรือการทำงานระบบใดระบบหนึ่งล้มเหลวจำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพ คณะแพทย์จะยึดตามที่ได้ตกลงกับคณะสงฆ์คือจะไม่กระทำการกู้ชีพให้กับองค์ท่าน (NR)  การทำการใส่ท่อช่วยหายใจหรือการให้ยาละลายลิ่มเลือดเป็นการรักษาที่มากเกินควร ดังนั้นถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นควรให้การรักษาประคับประคองเป็นหลัก

8. สำหรับแนวทางการทำ investigations

8.1 CXR, Film abdomen พิจารณาทำเมื่อมีอาการ

8.2      NG tube พิจารณาใส่ถ้ามี GI content อาเจียนในปริมาณมากเช่น 500 – 800 cc ขึ้นไป

9.    ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ขอรับองค์หลวงตาท่านไว้ในพระอุปถัมภ์และจะขอเป็นเจ้าของไข้ด้วยตัวของพระองค์เอง ทั้งนี้จะได้เสด็จมาเยี่ยมและส่งแพทย์มาดูแลหลวงตาอย่างสม่ำเสมอ  และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการรักษาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกหรือเพิ่มตัวยาใดๆในการถวายการรักษาองค์หลวงตาหรือมีอาการของโรคเปลี่ยนแปลงไปขอให้แจ้งให้พระองค์ทรงทราบด้วย

10.       การประชุมของคณะแพทย์จะกระทำทุกวันตอนเช้าหลังการตรวจร่ายกายองค์ท่าน

(ประมาณ 08.00น.)



No comments:

Post a Comment